Indish bael fruit bael Indian quince Indian bael มะบิน Belou marmelos (L.) A. Lyons bel กะทันตาเถร bael Brangal quince golden apple บักตูม สมุนไพร มะตูมแห้ง ตูม Feronia pellucida Roth, Ma tum มะตูม Crataeva marmelos L.
มะตูมแห้ง มะตูมแห้ง กลิ่นหอม
มะตูมเป็นผลไม่อ่อนไม่แก่และแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aegle marmelos (L.) Correa ในวงศ์ Rutaceae (วงศ์ เดียวกับส้ม มะนาว มะกรูด และไม้ประดับ เช่น แก้ว) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย คนไทยรู้จักมะตูมกันดีในแง่ของการเป็นไม้มงคล หรือนำผลมะตูมไปใช้ทำขนมและเครื่องดื่ม ผลอ่อนของมะตูมนำมาฝานเป็นแว่น ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาต้มกับน้ำใส่น้ำตาลเป็นเครื่องดื่ม ผลมะตูมมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก โดยในผลสุกน้ำหนัก 100 กรัมมีน้ำเป็น ส่วนประกอบอยู่ 61.5 g, โปรตีน 1.8 g, เกลือแร่ 1.7 g, คาร์โบไฮเดรต 31.8 g, วิตามินบีสอง 1.19 mg เพกติน (pectin) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งในผลมะตูม มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ นอกจากนี้ยังมีแคโร ทีนอยด์, วิตามินซี, แทนนิน, แอลคาลอยด์ เช่น อีจีลีน (aegeline), มาร์เมลีน (marmeline), คูมาริน เช่น มาร์ เมโลซิน (marmelosin), แซนโทท็อกซอล (xanthotoxol), สารหอมระเหยกลุ่มมอโนเทอร์พีนอยด์กับเซสควิเทอร์พีนอยด์ เป็นต้น เมล็ดมะตูมมีน้ำมันอยู่ประมาณ 34.4% ของน้ำหนักแห้ง มีกรดไขมันหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ
ในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร ผลมะตูมอ่อนเป็นส่วนผสมในยาผสมโคคลานสูตรตำรับที่ 1 และ 2 ซึ่งมีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อย และในยาตรีเกสรมาศ ซึ่งช่วย ปรับธาตุและแก้อ่อนเพลีย
พบได้ในผลมะตูม หรือในพืชสมุนไพรหลายชนิดในสกุล Angelica ของวงศ์ Apiaceae เช่น ในโกฐสอ (Angelica dahurica) ในรากและผลแองเจลิ กา (A. archangelica) * สารนี้ที่สกัดได้จากมะตูมแสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ต้านอักเสบ * ต้านเซลล์มะเร็งเต้านม โดยเข้าไปยับยั้งที่ตำแหน่งออกฤทธิ์ของโปรตีน HSULF-2 (heparan sulfatase-2) ของเซลล์มะเร็ง * ในหนูทดลองที่เป็นเบาหวาน ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและต้านอักเสบของสารช่วยลดการบาดเจ็บของไตลงได้ * สารนี้ช่วยปกป้องตับของหนูทดลองจากพิษของยาพาราเซตามอลที่สูงเกินขนาด * ช่วยป้องกันและบำบัดภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (vascular dementia) โดยลดภาวะเครียดเหตุออกซิเดชัน ปกป้องเซลล์ประสาทจากการอักเสบ โดยผ่านวิถี ส่งสัญญาณ Nrf2 (NF-E2 p45-related factor 2) * ยับยั้งเอนไซม์ MAPK (mitogen-activated protein kinase) รวมทั้งหลาย ๆ วิถีส่งสัญญาณในกระบวนการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับ NF-κB จึงช่วยบำบัดการอักเสบ ของเซลล์ประสาทในภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน * ลดการสูญเสียเซลล์ประสาทโดพามิเนอร์จิกในสมองส่วนกลางของหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เป็นโรคพาร์กินสัน และช่วยบำบัดอาการของโรคโดยการควบคุมวิถีส่งสัญญาณ PI3K–AKT * มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์บิวทิริลโคลิเนสเทอเรส (butyrylcholinesterase) ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้บำบัดโรคอัลไซเมอร์ * ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) ยังพบว่า มาร์เมโลซินสามารถกระตุ้นการสร้างกระดูก (osteogenesis) และยับยั้งการ เปลี่ยนแปลงของเซลล์สลายกระดูก (osteoclast) จึงช่วยบำบัดโรคกระดูกพรุนในหนูทดลองได้
ที่มา: รองศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร. รุทธ์ สุทธิศรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.นนทเลิศ เลิศนิติกุล, ภาควิ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย